ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
ชื่อย่อภาษาไทย
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ
ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสนา วัฒนธรรม และสังคมศาสตร์
Bachelor of Arts Program in Religion Culture and Social Sciences
ศศ.บ. (ศาสนา วัฒนธรรมและสังคมศาสตร์ )
B.A. (Religion Culture and Social Sciences)
บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถทางด้านสาขาศาสนา วัฒนธรรมและสังคมศาสตร์ มีมาตรฐานทางวิชาการ วิชาชีพ มีวินัย คุณธรรมและจริยธรรม
เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาศาสนา วัฒนธรรมและสังคมศาสตร์ ที่มีความสามารถดังต่อไปนี้
1) เพื่อให้บัณฑิตเป็นบุคคลผู้ใฝ่รู้ มีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 เป็นผู้ตระหนักถึงการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ในการพัฒนาหรือแก้ปัญหา สามารถสร้างโอกาสคุณค่าให้ตนเอง สังคมและท้องถิ่น รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก สามารถดำรงตนเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งมีคุณค่าของสังคม มีจริยธรรม ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง รู้คุณค่า รักชาติ รวมพลังเพื่อสร้างสรรค์พัฒนาสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
2) เพื่อให้บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการประยุกต์องค์ความรู้และสามารถสำรวจสภาพปัจจุบันและปัญหาความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้น โดยจัดทำและการบริหารข้อมูล ตลอดจนสรุปรายงานด้านศาสนา วัฒนธรรมและสังคมศาสตร์ได้
3) เพื่อให้บัณฑิตเป็นผู้ที่มีทักษะการสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการนำเสนอ การผลิตสื่อสร้างสรรค์ การผลิตบทความ ผลงานวิจัยหรือโครงงาน การถ่ายทอดความรู้ และทักษะการประสานงาน การบริหารโครงการทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก
4) เพื่อให้บัณฑิตเป็นผู้ที่สามารถประยุกต์แนวคิดและทฤษฎี องค์ความรู้ใหม่ เทคโนโลยี กฎหมาย และระเบียบต่างๆในการสร้างสรรค์วิจัยหรือการค้นคว้าอิสระหรือโครงงานตามความถนัดและความสนใจ และเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพด้านศาสนา วัฒนธรรมและสังคมศาสตร์
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า จากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
2) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำงานปลัดกระทรวงคณะกรรมการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ/หรือ เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2566 (ภาคผนวก ก)
3) ผ่านการคัดเลือกโดยระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสนา วัฒนธรรมและสังคมศาสตร์ เป็นหลักสูตรปริญญาตรีแบบสหวิทยาการที่ปรับปรุงให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และมีการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง เน้นความรู้และทักษะ ด้านวิชาการ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนากำลังคนของประเทศ ชุมชน และท้องถิ่น ให้เป็นบัณฑิตที่มีความรู้ด้านศาสนา วัฒนาธรรมและสังคมศาสตร์ มีสมรรถนะการทำงานด้าน และมีคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้แนวทางการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทํางาน (Cooperative and Work Integrated Education : CWIE) เพื่อพัฒนากําลังคนของท้องถิ่นและประเทศ ยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน การบริการเป็นเลิศ การทำงานเป็นทีม การคิดวิเคราะห์ การสั่งสมความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ การให้ความรู้และสร้างสัมพันธ์ ความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน และมีคุณธรรมจริยธรรม
1. นักวิชาการวัฒนธรรม
2. นักวิชาการศาสนา
3. ผู้ช่วยนักวิจัย
4. นักการจัดการงานทั่วไป นักทรัพยากรมนุษย์และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน
5. ครูผู้ช่วยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (จะต้องมีใบประกาศนียบัตรวิชาชีพครูเพิ่มเติม)
6. ครูธุรการ
7. อาชีพพนักงานเอกชน/อิสระอื่น ๆ เช่น พนักงานธนาคาร พนักงานสินเชื่อ เป็นต้น
เว็บไซต์
ลิงค์ วีดีโอ แนะนำประจำหลักสูตร youtube
ลิงค์ช่องทางติดต่อ tiktok
ปริญญาเอก ปร.ด. (ปรัชญาและศาสนาตะวันออก) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปริญญาโท ศศ.ม. (ปรัชญา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปริญญาตรี พธ.บ. (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1) บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
ปัญญา เสนาเวียง.(2565). ศึกษาเชิงวิเคราะห์ปรัชญาในวรรณกรรมพระมาลัย. วารสารวิชาการ
ธรรมทัศน์, 22(1), 117-129.
ศิริพงษ์ เสคำพันธ์ ชมนาถ แปลงมาลย์ วิชัย วัชรเวคะวิชญ์ และ ปัญญา เสนาเวียง. (2564).
ขบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนาของ ร.4. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น,
5(3), 239-248.
ปัญญา เสนาเวียง และ วิชัย วัชรเวคะวิชญ์. (2565). วิธีการการตีความทางปรัชญาตามแนวทาง
ศาสตร์การตีความของราชาราม โมหัน รอย. วารสารปรัชญาและศาสนา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1), 42-61.
ปริญญาเอก ปร.ด. (วัฒนธรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปริญญาโท ส.ม. (โภชนศาสตร์เพื่อสุขภาพ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ปริญญาตรี ท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ส.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ชมนาถ แปลงมาลย์ และ นุชนาถ มีนาสันติรักษ์. (2564). พัฒนาตำรับอาหารและวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของอาหารท้องถิ่น เพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบา
หวาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น, 5(4), 20-30.
ปริญญาเอก กำลังศึกษา ปร.ด.สังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ปริญญาโท วัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปริญญาตรี ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
1.การขยายตัวของชุมชนจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ.2408-2560 ตีพิมพ์ในวารสารมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่37 ฉบับที่2 เดือนมีนาคม-เมษายน พ.ศ. 2561
2.แนวทางการใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในการสร้างพิพิธภัณฑ์ : กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญากู่กาสิงห์ ตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
3. ผีพลังและสำนึกร่วมในท้องถิ่นของชุมชนบ้านเมืองบัว.รวมบทความในนานาทัศนะท้องถิ่นอีสาน.มหาสารคาม:คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4.“วาปีปทุม”จากเมืองรักษาเขตแดนสู่เมืองรักษาวัฒนธรรม ตีพิมพ์ในประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า ฉบับราชบัณฑิตยสภา เล่ม1.กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา,2566.หน้า81-114.