...

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา ค.บ. (ชีววิทยา)

Bachelor of Education Program in Biology B.Ed. (Biology)

...

ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร

- ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

ภาษาอังกฤษ

ชื่อย่อภาษาไทย

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา

Bachelor of Education Program in Biology

ค.บ. (ชีววิทยา)

B.Ed. (Biology)

- ปรัชญา

ครูชีววิทยา เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะ มีเจตคติที่ดี สามารถบูรณาการและจัดการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียน วิจัย อย่างเป็นระบบ สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

- วัตถุประสงค์

เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ชีววิทยา ดังต่อไปนี้
1. ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรู้เท่าทันในการเรียนรู้ มีทักษะภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ สามารถนำไปใช้ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. มีทักษะในศตวรรษที่ 21 คิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล คิดแบบองค์รวม พัฒนานวัตกรรม เสริมสร้างท้องถิ่นให้เข้มแข็ง และมีมุมมองเชิงธุรกิจ
3. มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์กว้างไกล เข้าใจและ เห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
4. มีคุณธรรม จริยธรรม วินัย จิตสาธารณะ สำนึกในความเป็นไทย สำนึกสาธารณะ สำนึกรักษ์ท้องถิ่น ดำเนินชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. รู้กฎหมายในยุคดิจิทัล และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลกเพื่อให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรู้เท่าทันในการเรียนรู้ มีทักษะภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ สามารถนำไปใช้ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. มีสมรรถนะในการนำแนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ในศาสตร์วิชาชีพครูได้ มีคุณธรรม
จริยธรรมความเป็นครู
7. มีสมรรถนะในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในศาสตร์ทางวิทยาการจัดการเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้และการศึกษาเกี่ยวกับงานครูแลtบทบาทหน้าที่ครู
8. มีสมรรถนะในการประยุกต์ความรู้ในวิชาชีพครูในการออกแบบวิจัยและพัฒนางานวิชาชีพครู การบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีระบบ สร้างสรรค์ และเป็นครูผู้ช่วย ผู้ช่วยสอนในศาสตร์สาขาวิชาเฉพาะในระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน
9. มีสมรรถนะในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาตนเองของ
นักศึกษาครู และแฟ้มสะสมงาน
10. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครูและจิตวิญญาณความเป็นครู
11. อธิบายความรู้ในวิชาชีววิทยา และวิชาชีพครูเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ
12. วิเคราะห์ศาสตร์การสอน และประยุกต์องค์ความรู้ เพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยา โดยสอดแทรกทักษะและกระบวนการ และเลือกใช้เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม

- คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญา หรือเทียบเท่าในสาขาที่เกี่ยวข้องจากสถานศึกษา ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองโดยการเทียบโอนผลการเรียน ตามระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ว่าด้วยการโอนผลการเรียน การเทียบโอนผลการเรียน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2567

- เกี่ยวกับหลักสูตร

134 หน่วยกิต
ฝึกปฏิบัติการสอน 1 ภาคเรียน
การศึกษาแบบในเวลาราชการ
วัน - เวลา ในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาที่ 1 (ภาคต้น) : มิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2 (ภาคปลาย) : พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
ภาคการศึกษาฤดูร้อน : มีนาคม – พฤษภาคม
วิสัยทัศน์ พันธกิจของสาขาวิชา
1) วิสัยทัศน์
สาขาวิชาชีววิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นหลักสูตรพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูที่สอนชีววิทยา ให้มีความรู้ คู่คุณธรรม นำความก้าวล้ำสู่ชุมชน
2) พันธกิจ
1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรมสำหรับครูสอนชีววิทยาและมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู
2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในศาสตร์ชีววิทยา ตลอดจนระเบียบวิธีการวิจัย การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง และนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผลิตบัณฑิตที่มีทักษะทางปัญญา การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า และนำความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ชีววิทยาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ แก้ปัญหาการพัฒนาผู้เรียน และการวิจัยต่อยอดองค์ความรู้ มีความเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานอย่างมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาการสอนชีววิทยาระดับมัธยมศึกษา
4. ผลิตบัณฑิตที่มีทักษะด้านการจัดการเรียนรู้ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ชีววิทยา ที่มีรูปแบบหลากหลายทั้งรูปแบบที่เป็นทางการ รูปแบบกึ่งทางการ รูปแบบไม่เป็นทางการอย่างสร้างสรรค์ และมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในวิชาเอกชีววิทยาอย่างบูรณาการ

แนวทางการประกอบอาชีพ

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1 ครู/อาจารย์ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
2 บุคลากรทางการศึกษา
3 นักวิชาการและนักวิจัยทางด้านชีววิทยาศึกษา
4 ผู้สอน/บุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนของรัฐและเอกชน
5 พนักงานบริษัทในประเทศและต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน
6 ธุรกิจส่วนตัวด้านการศึกษา

ข้อมูลการติดต่อ

เว็บไซต์

#

ลิงค์ วีดีโอ แนะนำประจำหลักสูตร youtube

https://youtu.be/ASfDuFmMKNE?si=1U8JoNe0quRMccpn

ลิงค์ช่องทางติดต่อ tiktok

#

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อรรถพร มลาศรี
อาจารย์อรรถพร มลาศรี

ปริญญาตรี วท.บ. ชีววิทยา
ปริญญาโท ค.ม. วิทยาศาสตรศึกษา

-

ยุวดี อินสำราญ
ผศ.ดร.ยุวดี อินสำราญ

ปร.ด. (ชีววิทยา)
กศ.ม. (ชีววิทยา)
ค.บ. (วิทยาศาสตร์ทั่วไป)

-

พันธิวา แก้วมาตย์
ผศ.ดร.พันธิวา แก้วมาตย์

ปร.ด. (ชีววิทยา)
วท.ม. (ชีววิทยา)
วท.บ. (ชีววิทยา)

-

กัญชลิกา รัตนเชิดฉาย
อาจารย์ ดร.กัญชลิกา รัตนเชิดฉาย

Ph.D. (Biotechnology in Plant Pathology)
วท.ม. (เทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช)
วท.บ. (ชีววิทยา)

-

กัลยาณี เจริญโสภารัตน์
ผศ.ดร.กัลยาณี เจริญโสภารัตน์

ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ)

-

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อรรถพร มลาศรี
อาจารย์ อรรถพร มลาศรี

ค.ม. (วิทยาศาสตรศึกษา)
วท.บ. (ชีววิทยา)

-

ยุวดี อินสำราญ
ผศ.ดร. ยุวดี อินสำราญ

ปร.ด. (ชีววิทยา)
กศ.ม. (ชีววิทยา)
ค.บ. (วิทยาศาสตร์ทั่วไป)

-

พันธิวา แก้วมาตย์
ผศ.ดร. พันธิวา แก้วมาตย์

ปร.ด. (ชีววิทยา)
วท.ม. (ชีววิทยา)
วท.บ. (ชีววิทยา)

-

กัญชลิกา รัตนเชิดฉาย
อาจารย์ ดร. กัญชลิกา รัตนเชิดฉาย

Ph.D. (Biotechnology in Plant Pathology)
วท.ม. (เทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช)
วท.บ. (ชีววิทยา)

-

กัลยาณี เจริญโสภารัตน์
ผศ.ดร. กัลยาณี เจริญโสภารัตน์

ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ)

-